โรคที่ร้ายแรงที่สุดนั้นคงหนีไม่พ้นโรคตับ หรือไขมันพอกตับ

โรคตับ หรือไขมันพอกตับ หากได้เป็นแล้วท่านรู้หรือไม่ว่าจะไม่รักษาให้หายขาดได้ ทางแพทย์ทำได้เพียงรักษาตามอาการ และชลอการร้ายของโรคนั้น ซึ่งจะใช้การรักษาจากอาการที่วิฉัย ดังนั้นเราไม่ควรรอให้แพทย์มาวิฉัยโรคแต่เราควรดูแลตับและร่างกายของเราเองให้แข็งแรงอยู่เสมอ ด้วยการกินอาหารเสริม หรือการออกกำลังกาย ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่

การลดหรือหยุดการดื่มสุราหรือแอลกอฮอล์เป็นทางเลือกที่ดีที่สุดกับร่างกายของเรา หากมีคนเป็นโรคตับแข็งหรือโรคที่เกิดมาจากสาเหตุข้างต้นที่เกิดมาจากการดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปนั้น ควรที่จะหยุดหรือเลิกดื่มแอลกอฮอล์ทุกประเภททันที เพื่อมิให้การเกิดโรคร้ายนั้นโดนกระตุ้นการทำงานให้หนักขึ้นไปกว่าเดิม

โดยทางแพทย์อาจมีประแนะนำให้เข้าร่วมโปรแกรมหรือกลุ่มฟื้นฟูผู้ที่ติดสุราเรื้อรังในบางราย หากผู้ผ่วยท่านนั้นไม่สามารถหยุดหรือเลิกดื่มแอลกอฮอล์หรือสุราได้

หลักการรับประทานยาที่แพทย์สั่งก็เป็นเพียงการยับยั้งหรือควบคุมโรคเพียงเท่านั้น แต่ไม่ได้เป็นการทำให้หายขาดจากโรคได้อย่างแน่นอน ซึ่งโรคตับแข็งนั้นจะมีอาการทรุดลงเรื่อยๆตามเวลาของมันโดยทางแพทย์จะมีการจ่ายยาประเภท สเตียรอยด์หรือยาต้านไวรัสเพื่อช่วยไม่ให้เซลล์ไวรัสกระจายตัวหรือไปทำลายเซล์ตับมากขึ้นไปกว่าเดิม และยังจะเป็นการลดจำนวนไวรัสให้ลดลงได้

อีกช่องทางในการดูแลตนเองที่น่าสนใจ จึงหยิบยกมาให้ท่านเผื่อมีใครสนใจ นั้นก็คือ การลดน้ำหนัก หลายคนมองว่าจะเป็นการช่วยได้จริงหรือไม่ เรื่องนี้ทางการแพทย์ได้แนะนำว่ามันเป็นวีธีที่ง่ายที่สุด เพราะว่าหากพบผู้ป่วยที่มีภาวะไขมันเกาะที่ตับแล้วนั้น ควรเป็นอย่างยิ่งในการลดน้ำหนักหรือควรควบคุมน้ำหนักของตนเอง เพื่อที่จะคอยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ไม่มากเกิดไปนั้นเอง

นอกจากนี้ผู้ป่วยที่มีอาการของโรคที่ไม่เฉพาะเจาะจง แต่เป็นอาการที่ผิดปกติจากสภาวะแทรกซ้อนของโรคทั้งหลาย ทางแพทย์หรือทางผู้เชี่ยวชาญจะให้ยาควบคู่ไปกับอาการของโรคแต่ละชนิดและเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น สภาวะบวมน้ำ ตามอวัยวะต่างๆ โดยทางแพทย์จะให้ยารับประทานช่วยขับปัสสาวะ เพื่อที่จะช่วยลดน้ำหรือขับน้ำออกจากร่างกายและควรหลีกเลี่ยงการรับประทานเกลือมากเกินไป เพราะจทำให้เกิดการบวมน้ำมากขึ้นนั้นเอง

คุมเบาหวานได้ด้วยการควบคุมการกิน

ถึงแม้ว่าโรคเบาหวานจะเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่อย่างไรก็ตามยังคงที่จะสามารถควบคุมอาการให้อยู่ในระดับปกติได้ไม่ยาก หากเราเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสม และทำการออกกำลังกายเป็นประจำ รวมไปถึงรักษาน้ำหนักให้คงที่ไม่น้อยไม่มาก และทานยาให้ครบตามแพทย์ระบุ ก็จะสามารถควบคุมอาการของโรคเบาหวานไม่ให้รบกวนการใช้ชีวิตในประจำวันได้บ้าง และทำให้คุณภาพชีวิตของคุณดีขึ้นได้ใกล้เคียงกับคนปกติได้มากที่สุด

อาหาร กับผู้ป่วยเบาหวาน
รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า อาหารเป็นส่วนสำคัญมากในการรักษาโรคเบาหวาน ซึ่งคนเป็นเบาหวานมักมองข้ามหรือละเลยในเรื่องอาหารการกิน ซึ่งก็อาจจะคิดเพียงว่ารับยาไปทานแล้วคงหายเหมือนกับโรคอื่นๆ ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิดอย่างยิ่ง เพราะโรคเบาหวานเป็นโรคที่รักษาไม่หายขาด ซึ่งเพียงแค่ทานยาเพื่อรักษาเพียงอย่างเดียวมันไม่สามารถควบคุมเบาหวานได้ ดังนั้นในการควบคุมอาหารให้ถูกวิธีและรู้จักเลือกทานอาหารที่เหมาะสมต่อตนเองด้วยปริมาณที่สัดส่วนถูกต้องเหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย ก็เป็นหนึ่งวิธีในการรักษาและป้องกันโรคเบาหวานได้

ทานอาหารอย่าง คุมเบาหวานได้อยู่หมัด
ในการรับประทานอาหารสำหรับผู้ที่เป็นเบาหวานมีหลักการที่ไม่ได้แตกต่างจากหลักการรับประทานเพื่อสุขภาพที่ดีสำหรับคนทั่วไป คือ การกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ อย่างถูกสัดส่วน ในปริมาณที่พอเหมาะ มีความหลากหลายทางคุณค่าอาหาร โรคเบาหวานเกิดจากความผิดปกติของการหลั่งฮอร์โมนอินซูลิน หรือการออกฤทธิ์ของฮอร์โมนอินซูลิน หรืออาจเกิดจากทั้ง 2 อย่างรวมกัน ส่งผลทำให้ร่างกายไม่สามารถที่จะเปลี่ยนน้ำตาลจากอาหารมาเป็นพลังงานได้ จึงทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติ หากพบว่ามีน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานานและไม่มีการควบคุมอาจ จะส่งผลให้เกิดโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ขึ้น เช่น อาการชาปลายมือปลายเท้า จอประสาทตาเสื่อม ไตวาย รวมถึงโรคหัวใจและหลอดเลือด

 เคล็ดลับการทานอาหารที่เหมาะสมกับผู้ป่วยโรคเบาหวาน

  1. ทานข้าว หรือแป้งที่มีกากใยสูง อย่างข้าวกล้องหรือข้าวซ้อมมือ ปริมาณ 1 กำมือต่อมื้อ
  2. ทานเนื้อสัตว์ที่มีไขมันน้อย ไม่ติดมันและหนัง เช่น เนื้อปลา 1-2 อุ้งมือ
  3. หากไม่ได้ทานเนื้อสัตว์ ควรทานไข่ขาว เต้าหู้ 1 อุ้งมือ
  4. ในแต่ละมื้อควรรับประทานผักต้มสุกประมาณ 2 อุ้งมือ โดยเน้นผักใบเขียว หลีกเลี่ยงข้าวโพด เผือก มัน ฟักทอง เนื่องจากให้แป้งสูง
  5. สามารถรับประทานผลไม้ได้ทุกวัน โดยทานวันละ 2-3 กำมือ โดยไม่จิ้มพริกเกลือ แต่ควรหลีกเลี่ยงผลไม้แปรรูปทุกชนิด
  6. ดื่มนมรสจืดพร่องมันเนยหรือขาดมันเนย 1-2 แก้วต่อวัน หากเป็นนมถั่วเหลืองหรือน้ำเต้าหู้ ควรเลือกชนิดหวานน้อย 1 แก้วต่อวัน
  7. ควรหลีกเลี่ยงขนมหวาน ชา และกาแฟ

ผู้อำนวยการสถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ กล่าวว่า เบาหวานเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถดูแลโดยการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ใกล้เคียงกับปกติมากที่สุดได้ โดยอาจจะเกิดจากการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ในปริมาณที่ถูกต้องเหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย รวมถึงการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ และควรทานยาตามที่แพทย์ระบุ เพื่อลดความรุนแรงของอาการของโรคและป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวานที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้

สังเกตอาการ ‘หูตึง’ ด้วยตัวเอง

เคยเรียกเพื่อนเท่าไรแล้วเพื่อนก็ไม่ได้ยินไหมคะ เรามักชอบแซวกันว่าคนๆ นั้น “หูตึง” แม้ว่าจะเป็นการเปรียบเปรยที่อาจจะฟังดูเกินจริงไปสักนิด แต่อาจจะมีหลายคนที่อยากจะทดสอบดูเหมือนกันว่าตัวเองมีความเสี่ยงที่จะหูตึงจริงหรือเปล่า เรามีวิธีง่ายๆ มาให้ได้ลองทำกันดูค่ะ

หูตึง คืออะไร?
อย่างที่ทราบกันดีว่า อาการหูตึง หมายถึงอาการที่เราเริ่มจะไม่ค่อยได้ยินเสียงอะไรอย่างชัดเจน ตามปกติเราควรจะได้ยินเสียงที่ดังกว่า 25 เดซิเบล แต่ไม่เกิน 90 เดซิเบล อาการหูตึงสามารถเป็นเพียงแค่หูข้างเดียว หรือหูทั้งสองข้างเลยก็ได้

หากมีอาการหูตึงเล็กน้อย อาจจะไม่ได้ยินเสียงที่เบามากๆ หรือเสียงกระซิบ หากหูตึงระดับปานกลาง หมายถึงจะเริ่มไม่ค่อยได้ยินเสียงระดับที่เป็นบทสนทนาทั่วไป หากหูตึงมากๆ อาจไม่ได้ยินเสียงดังๆ และอาจถึงขั้นได้ยินเสียงตะโกนที่ดังมาก ในระดับที่เบาๆ หรือได้ยินเพียงเล็กน้อย

หูตึง เกิดจากอะไร?

– หูตึงจากการฟังเสียงดัง
โดยส่วนมาก อาการหูตึงมักเกิดจากการฟังเสียงดังนานๆ จนทำให้เซลล์ขนในชั้นหูชั้นในถูกทำลาย (ความดังของเสียงราวๆ มากกว่า 85 เดซิเบลขึ้นไป) โดยอาจเป็นอาการหูตึงชั่วคราว หรือหูตึงแบบถาวรก็ได้ หากเป็นอาการหูตึงจากการฟังเสียงดังนานๆ จะไม่มีวิธีรักษา จึงไม่ควรอยู่ในพื้นที่ที่เสียงดังมากจนเกินไปเป็นระยะเวลานานๆ หรือหากจำเป็นต้องทำงาน ควรมีที่อุดหูเพื่อช่วยลดระดับความดังของเสียง

– หูตึงจากโรคน้ำมนหูไม่เท่ากัน (มินิแอร์)
โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เกิดจากความดันของเหลวในหูชั้นในสูงเกินปกติ ทำให้เซลล์ขนของหูชั้นในถูกทำลาย โดยมีอาจอาการเหมือนประสาทหูเสื่อม มีเสียงอื่นๆ ดังรบกวนในหู และมีอาการเวียนศีรษะ โดยอาการเริ่มแรกอาจจะเริ่มจากไม่ค่อยได้ยินเสียงแบบเป็นๆ หายๆ โดยอาจเริ่มจากเสียงทุ้มก่อน หลังๆ อาจเริ่มมีอาการเวียนศีรษะที่รุนแรงขึ้น คลื่นไส้ หรืออาเจียนร่วมด้วย หากมีอาการดังกล่าว ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อทำการรักษาด้วยการทานยา หรือผ่าตัด

– หูตึงจากยา
อาการหูตึงอาจเกิดมาจากผลข้างเคียงของยาบางชนิด เช่น ยาแก้ปวด ยาแก้ไอ สารประกอบจำพวกสารหนู ตะกั่ว ปรอท และยาปฏิชีวนะ เช่น ยาแก้อักเสบต่างๆ หากหยุดยาอาการอาจดีขึ้น หรือบางรายอาจมีอาการหลังรับยาไปได้สักระยะ หากมีอาการหนักจนรบกวนการใช้ชีวิต ควรปรึกษาแพทย์เพื่อขาเปลี่ยนเป็นยาที่เหมาะสม

– หูตึงเพราะอายุสูงขึ้น
เรียกง่ายๆ ว่าเป็นอาการหูตึงที่มาพร้อมกับอายุที่สูงขึ้นนั่นเอง เมื่อคนเราอายุเกิน 50 เซลล์ต่างๆ ในร่างกายก็จะเริ่มเสื่อมถอยลง เซลล์ขนในหูชั้นในอาจค่อยๆ เสื่อมสภาพไปตามกาลเวลา โดยอาจเริ่มจากการเริ่มฟังโทนเสียงแหลมไม่ได้ยิน จนกระทั่งลามมาถึงเสียงในระดับการสนทนาปกติ แม้ว่าจะเป็นอาการหูตึงที่รักษาไม่ได้ แต่มีเครื่องช่วยฟังที่สามารถใช้ช่วยผู้สูงอายุได้

– หูตึงจากเนื้องอกของเส้นประสาทหู
หูตึงจากเนื้องอกของเส้นประสาทหู จะมีอาการหูตึงเพียงข้างเดียว โดยอาการจะค่อยๆ เพิ่มขึ้น เริ่มมีเสียงดังรบกวนในหู เริ่มฟังไม่ค่อยชัด จับใจความ หรือจับเป็นคำพูดไม่ค่อยได้ (สังเกตได้จากตอนคุยโทรศัพท์ด้วยหูข้างที่มีปัญหา) หากเนื้องอกโตมากๆ อาจกดทับประสาทจนทำให้มีปัญหาการมองเห็น หรือหน้าเบี้ยว และเริ่มทรงตัวไม่ค่อยดี

– หูตึงเฉียบพลัน หรือหูดับ
เกิดจากการติดเชื้อของหูชั้นใน โดยโลหิตมาหล่อเลี้ยงหูชั้นในไม่เพียงพอ หรืออาจเกิดจากเนื้องอกกดทับเส้นประสาทหู มากดทับเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหูชั้นในต่ออีกทีหนึ่ง ซึ่งอันตรายมาก ควรพบแพทย์ด่วนที่สุด

– หูตึงจากอุบัติเหตุในหูชั้นใน
เกิดจากหูถูกกระทบกระแทก ถูกตีที่กกหู หรือถูกตี ถูกกระแทกอย่างแรงจากด้านหลังศีรษะ จนทำให้กระดูกหูชั้นในแตก หรือร้าว โดยอาจมีอาการเพียงหูตึงเล็กน้อย ไปจนถึงหูหนวกได้ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงที่เกิดขึ้น และอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น เวียนศีรษะ มีอาการชาบริเวณใบหน้าในส่วนที่ใกล้เคียงกับหูข้างที่มีปัญหา อาการแบบนี้ควรได้รับความดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิด

วิธีสังเกตอาการ “หูตึง” ด้วยตัวเอง
ลองฟังเสียงกระซิบในระยะ 10 เซนติเมตร หรือยกมือขึ้นในระยะใกล้ๆ หู ราวๆ 1 นิ้ว ใช้นิ้วชี้และนิ้วโป้งถูกันจนเกิดเสียงเบาๆ ระดับเสียงนี้จะอยู่ที่ราวๆ 30 เดซิเบล หากได้ยินแปลว่าหูยังปกติอยู่ แต่หากไม่ได้ยินแสดงว่าอาจมีความเสี่ยงที่จะมีอาการหูตึง

หากใครที่ยังไม่แน่ใจว่าตัวเองมีอาการหูตึงหรือไม่ หรือมีอาการผิดปกติจนรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน สามารถเข้ารับการตรวจสุขภาพของหู จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านคอ หู จมูก ได้ตามสถานพยาบาลใกล้บ้านค่ะ

กินเก่งแค่ไหนก็ไม่อ้วนถ้าเลือกกิน

อยากลดน้ำหนักอย่างได้ผลสำเร็จภายในเวลารวดเร็ว เพียงทำตามวิธีดังต่อไปนี้ รับรองค่ะว่าการมีหุ่นดีไม่ไปไหนไกลแน่นอน ว่าแต่ต้องทำอย่างไรบ้าง รีบตามไปดูพร้อมๆ กันเลยค่ะ

1.งดแป้ง แต่เพิ่มโปรตีนให้เพียงพอ
หลายคนอาจจะคิดว่าไขมันเป็นตัวร้ายที่ทำให้อ้วน แต่ความเป็นจริงแล้ว หากคุณอยากผอม ก็ควรจะงดแป้งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแป้งที่ได้จากข้าว ขนมปัง หรือขนมต่างๆ ซึ่งควรจะเลือกกินข้าวซ้อมมือหรือข้าวกล้อง เพราะเต็มไปด้วยกากใยอาหารที่ช่วยให้ร่างกายขับไขมันออกไปได้มากกว่า นอกจากนี้ ควรเพิ่มอาหารที่มีโปรตีนสูง อย่างเช่น เนื้อไก่ ธัญพืช นม ไข่ ปลา ฯลฯ เพราะโปรตีนจะช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อ และช่วยให้อิ่มท้องง่าย ซึ่งดีต่อการลดน้ำหนักอย่างมากทีเดียว

2.ควรกินอาหารเช้าทุกวัน
ใครที่กำลังลดน้ำหนัก ต้องห้ามลืมว่าอาหารเช้าคือ อาหารมื้อสำคัญที่สุด เนื่องจากอาหารเช้าจะช่วยกระตุ้นระบบเผาผลาญของร่างกายให้ทำงานได้อย่างเต็มที่ตลอดทั้งวัน หากเราอดมื้อเช้าก็จะยิ่งทำให้รู้สึกหิวบ่อยขึ้น กินเยอะขึ้นในมื้อต่อไป และยังทำให้ระบบเผาผลาญพังง่ายอีกด้วย

3.มื้อเย็น เลือกกินแบบเบาๆ
การลดน้ำหนักที่ดี ไม่จำเป็นต้องงดมื้อเย็นแต่อย่างใด เพียงแต่ให้หันมาเลือกกินอาหารลดน้ำหนักเบาๆ อย่างเช่น โยเกิร์ต หรือสลัด ไม่ควรงดอาหารมื้อเย็นอย่างเด็ขาด เพราะหากคุณอดมื้อเย็นอาจจะทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ทำให้หิวจนนอนไม่หลับ และทำให้การลดน้ำหนักไม่เป็นผลสำเร็จในที่สุด

4.เน้นไฟเปอร์เป็นหลัก
อาหารที่เต็มไปด้วยไฟเบอร์ ได้แก่ ผักและผลไม้หวานน้อย หรือธัญพืชต่างๆ เนื่องจากไฟเบอร์มีส่วนช่วยในการขับถ่ายและยังช่วยจำกัดไขมันส่วนเกินต่างๆ ออกไปได้เป็นอย่างดี รวมไปถึงมีส่วนช่วยให้ร่างกายอิ่มเร็ว ทำให้กินอาหารน้อยลง แต่อิ่มเร็วขึ้นนั่นเอง สาวๆ สามารถนำอาหารที่มีไฟเบอร์เหล่านี้มาเป็นทำเป็นเมนูลดน้ำหนักตามชอบได้เลย หรือจะนำผักใบเขียวต่างๆ มาปั่นเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพที่มีส่วนช่วยลดน้ำหนักได้ก็ดีเหมือนกัน แต่ระวังอย่าเผลอเติมน้ำตาลเข้าไปล่ะ

5.แบ่งอาหารออกเป็นหลายๆ มื้อ
หลายคนอาจจะเข้าใจว่าการกินอาหารให้น้อยลงจะช่วยให้สามารถลดน้ำหนักได้มากกว่า นั่นก็อาจจะเป็นแนวทางที่ไม่ถูกต้องไปเสียทั้งหมดนัก เพราะในความเป็นจริงแล้ว คุณควรจะแบ่งอาหารออกเป็นมื้อย่อยเล็กๆ สำหรับกินวันละ 3 – 4 มื้อ โดยเลือกเมนูอาหารที่ไม่ทำให้อ้วน ไม่มีไขมัน ไม่ผ่านการทอด และเต็มไปด้วยผักผลไม้ เพียงเท่านี้ก็จะทำให้ร่างกายได้รับปริมาณอาหารแต่ละมื้อได้อย่างถูกส่วนเหมาะสมมากขึ้น แถมยังช่วยลดอาการหิวจุบจิบในระหว่างวันได้ด้วย กินแบบนี้ยังไงก็ลดน้ำหนักลงได้เร็วอย่างแน่นอน

หากสาวๆ ได้นำเทคนิคลดน้ำหนัก 5 ข้อเหล่านี้ไปใช้ควบคู่กับการหมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ รับรองได้เลยค่ะว่าภายใน 2 สัปดาห์ น้ำหนักและสัดส่วนจะต้องลดลงอย่างใจต้องการชัวร์

อาการไขมันในเลือดสูงเกี่ยวข้องกับตับหรือไม่

ขึ้นชื่อว่าร่างกายไม่ว่าจะภายในหรือภายนอกก็ตามแต่ล้วนแต่มีความสำคัญกับเรามากพอๆกัน การที่ภายในร่างกายผิดปกติอย่างเช่น มี ไขมันในเลือดสูง เราควรต้องดูแลอะไรหรือควรรักษาตนเองอย่างไร

ตับเป็นอวัยวะที่มีความสำคัญและเป็นอวัยวะที่ให้มากที่สุด โดยตับของผู้ใหญ่จะมีน้ำหนักประมาณ 1.3  – 3 กิโลกรัม และจะมีลักษณะนุ่ม และจะมีสีออกแดงๆส่วนเนื้อตับจะออกสีแดงปนน้ำตาล แบ่งออกเป็น 2 กลีบ โดยปกติแล้วคนเราจะไม่สามารถคลำตับได้ว่าอยู่ส่วนไหน แต่จริงๆ แล้วตับของคนเราอยู่ตรงบริเวณ ชายโครงขวาใต้กระดูกซี่โครง แต่ถ้าหากตับโตจะโตลงล่าง หรือโตออกด้านข้างหรือบนก็ได้ โดยอาการที่จะแสดงให้เห็นได้ชัดคือ คนที่เป็นมักจะแสดงอาการจุกตื้อๆ  ตับมีหลอดเลือดที่สำคัญ ที่ให้ในการทำหน้าที่ในการผ่าน เข้า-อออก ทั้งหมด 3 ทาง ได้แก่

Hepatic Portal Vein (หลอดเลือดดำพอร์ทัลตับ)

  • คือ หลอดเลือดดำ จากลำไส้เล็ก,ใหญ่ ที่นำสารอาหาร กลูโคส ที่เพิ่งผ่านการย่อยหรือดูดซึม ส่งมาที่ตับเพื่อคัดแยกตามหน้าที่ของตับที่จะมีกรรมวิธีต่างๆ หลอดเลือดดำพอร์ทัลตับคือส่วนประกอบที่สำคัญในระบบการไหลเวียนพอร์ทัลตับ  และเป็นระบบหลอดเลือดดำพอร์ทัลตับหนึ่งในสองของระบบในร่างกาย ส่วนอีกระบบนึงอยู่ที่ระบบไหลเวียนพอร์ทัลไฮโปไฟเซียลที่ต่อมใต้สมอง

Hepatic Artery คือ

  • หลอดเลือดแดงจากหัวใจ ซึ่งนำพาเลือดแดงที่เต็มไปด้วยออกซิเจนจำนวนมาก มาส่งไว้ที่ตับเพื่อเลี้ยงเซล์ตับให้ทำงานต่อไป และในขณะเดียวกันหลอดเลือดแดงก็นำเอา คาร์บอลไดออกไซด์ ซึ่งเป็นของไม่มีประโยชน์เป็นของเสียจากตับเพื่อนำไปส่งยังหลอดเลือดดำ กลับเข้าไปสู้หัวใจและปอดอีกด้วย

Hepatic Vein

  • คือ หลอดเลือดดำจากตับ เข้าสู่หลอดเลือดดำของหัวใจ เพื่อที่ตับจะได้นำตาร์บอนไดออกไซด์น้ำตาลกลูโคส และสารอาหารต่างๆ รวมทั้งตับอ่อนเองก็ยังได้ช่วงส่ง อิซูลิน  ส่งไปให้หัวใจ เพื่อให้หัวใจไปรับออกซิเจนก่อน แล้วหัวใจก็จึงจะแจกจ่ายออกซิเจนไปทั้วทุกเซลล์ในร่างกายของคนเรา